Waldo-Thamdee เปิดมิติใหม่กำหนดมาตรฐานกัญชาไทยสู่เวทีโลก จับมือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันพัฒนาส่งเสริมปลูกกัญชาทางการแพทย์ โดย บริษัท สยามอิมเมจ จํากัด มอบทุนวิจัยพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

Waldo-Thamdee เปิดมิติใหม่กำหนดมาตรฐานกัญชาไทยสู่เวทีโลก จับมือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันพัฒนาส่งเสริมปลูกกัญชาทางการแพทย์ โดย บริษัท สยามอิมเมจ จํากัด มอบทุนวิจัยพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ มูลค่า 1 ล้านบาท และมอบทุนการศึกษา 30 ทุน จำนวน 6 ล้านบาท ปั้นนักปลูกกัญชามืออาชีพ เข้าสังกัดนิคมเกษตรนวัตกรรม Waldo เงินเดือนขั้นต่ำ 3 หมื่นบาท หลังจบการศึกษาทันที

วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารสํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นประธานแถลงข่าวรับมอบทุนวิจัยพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ จำนวน 1,000,000 บาท และทุนการศึกษากัญชาเวชศาสตร์ต่อเนื่อง ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 จนสำเร็จการศึกษา จำนวน 30 ทุน เป็นเงินทุนการศึกษาทั้งสิ้น 6,000,000 บาท จากสถาบันพัฒนาส่งเสริมปลูกกัญชาทางการแพทย์ โดยบริษัท สยามอิมเมจ จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการปลูกกัญชาทางการแพทย์ (ระบบปิด) และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยา และเวชสำอางที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นการที่สถาบันพัฒนาส่งเสริมปลูกกัญชาทางการแพทย์ โดยบริษัท สยามอิมเมจ จำกัด ได้มอบทุนการศึกษาและทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยในครั้งนี้ จึงนับได้ว่าเป็นประโยชน์แก่วงการอุตสาหกรรมกัญชาเพื่อการแพทย์อย่างมาก

ด้าน พลโท สีหเดช ดีสนธิโชค ประธานสถาบันพัฒนาส่งเสริมปลูกกัญชาทางการแพทย์ กล่าวว่า โครงการความร่วมมือทางวิชาการกัญชาทางการแพทย์ครั้งนี้ เริ่มมาจากกระแสโลกที่กัญชาถือเป็นพืชมหัศจรรย์ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยแต่ในอดีต และวันที่ 9 มิถุนายนนี้ จะได้การปลดล็อกกัญชาอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม การนำผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากกัญชามาช่วยเหลือรักษาผู้ป่วยติดเตียง จำเป็นต้องมีการพัฒนาสายพันธุ์กัญชา และเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อนำกัญชามาใช้ในการรักษาโรค นอกจากนี้จะช่วยให้สถาบันการศึกษาต่างๆ สามารถผลิตบุคลากรทางด้านนี้เพื่อสนับสนุนการปลูก สกัดกัญชา และนำกัญชาไปใช้ทางการแพทย์ได้อย่างถูกวิธี มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่อไป

รศ.ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ย้ำว่า ทางมหาวิทยาลัยพร้อมร่วมมือกับภาคเอกชนต่างๆ ในการผลิตบุคลากรป้อนตลาดกัญชาต่อไป ซึ่งขณะนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลง และกัญชานั้นถือว่าประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกและผลิตที่มีคุณภาพที่ดี เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้มีชื่อเสียง ก่อนที่ประเทศอื่นจะฉวยโอกาสนี้ เราจึงต้องบอกว่า “โสมขึ้นชื่อคือเกาหลี กัญชาดีต้องสวนสุนันทาไทยแลนด์”

ขณะที่ พลโท สีหเดช ดีสนธิโชค ประธานสถาบันพัฒนาส่งเสริมปลูกกัญชาทางการแพทย์ กล่าวเสริมว่า วันนี้ได้รับเกียรติจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและท่านอธิการบดีให้เกียรติรับมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาจำนวน 30 ทุนเป็นเงินจำนวน 6 ล้านบาท โดยบริษัท สยามอิมเมจ จำกัด มอบให้ทางมหาวิทยาลัยในการศึกษาค้นคว้าวิจัยพัฒนาคุณภาพกัญชาที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมีกลุ่ม Thamdee Group และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสองธารา จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นตัวแทนชุมนุมวิสาหกิจแห่งประเทศไทยกว่า 30 แห่งเป็นผู้ดำเนินการเพาะปลูก ต่อไปอนาคตเราก็จะมีนักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรกัญชาศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นหน่อเนื้อวิสาหกิจในชุมชนของท่านกลับสู่ท้องถิ่น เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ มีคุณภาพของชีวิตและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ขณะนี้กัญชาติดกระแสเทรนด์ของโลกอันดับ 6 และถึงเวลาของประเทศไทย กัญชาจะกอบกู้เศรษฐกิจของพวกเราหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะผู้เจ็บไข้ได้ป่วย กัญชาที่เราสกัดจะมีสารสำคัญที่สามารถช่วยรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โรคมะเร็ง สรรพคุณของกัญชามีมากมาย นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่บริษัท (มหาชน) หลายรายให้ความสนใจมาร่วมสังเกตการณ์ และให้ความสนใจร่วมลงทุนกับเรา ซึ่งจะมีความชัดเจนในรายละเอียดต่อไป

ด้าน รศ.ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ คณบดีวิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ประเทศไทยถือเป็นประเทศผู้ผลิตกัญชาที่มีคุณภาพระดับโลก จึงมีหลายๆ ประเทศสนใจสั่งซื้อ ตนจึงเชื่อมั่นว่า เมื่อกัญชาเปิดเสรีอย่างแท้จริง เราจะมีความพร้อมทั้งภาครัฐและเอกชนที่ช่วยกันส่งเสริมผลิตสารสกัดกัญชาที่มีคุณภาพเพื่อนำไปผลิตเป็นยาและเวชสำอาง ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่ารวมกว่าแสนล้านบาท และยังทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ทั้งยาแก้ปวด และแก้อับเสบต่างๆ ประเทศเราจะมีรายได้มากขึ้น เป็น

ทั้งอุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมเวชสำอางค์ ที่สำคัญคือเกษตรกรจะมีรายได้มากขึ้น ขอให้ปลูกอย่างถูกต้องตามวิธีที่เหมาะสม จึงเชิญชวนมาเรียนหลักสูตรสหเวชศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

อย่างไรก็ตาม ปลายทางที่แท้จริงในการกระตุ้นเศรษฐกิจคือการส่งออก แต่วันนี้ยังไม่มีเจ้าภาพที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชนแม้แต่รายเดียวได้รับใบอนุญาตส่งออกยาเสพติดประเภท 5 (กัญชา) ดังนั้น รัฐควรออกมาส่งเสริมสนับสนุนให้กัญชาสามารถส่งออกได้อย่างถูกกฎหมาย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed