หลักสูตร ป.ตรี อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม ม.รังสิต กับการบูรณาการองค์ความรู้ สู่การป้องกันอาชญากรรมในสังคมไทย

หลักสูตร ป.ตรี อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม ม.รังสิต กับการบูรณาการองค์ความรู้ สู่การป้องกันอาชญากรรมในสังคมไทย

 ผศ.ดร.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม ม.รังสิต กล่าวว่า สภาพการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม และระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาครอบครัวแตกแยก ความยากจน ยาเสพติด และอาชญากรรม ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในสังคม นอกจากนี้ พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญหาอาชญากรรมบนโลกออนไลน์มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่า แม้ว่าสังคมจะมีความเจริญเติบโตก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่สามารถควบคุมปัญหาอาชญากรรมให้ลดลงจากสังคมไทย ซึ่งจะเห็นได้จากสถิติการรับแจ้งคดีอาญาของตำรวจระหว่างปี พ.ศ.2564-2566 ดังนี้

ประเภทฐานความผิด

ฐานความผิดเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย และเพศ

ปีพ.ศ.2564 จำนวน 15,582คดี

ปีพ.ศ.2565 จำนวน 18,073คดี

ปีพ.ศ.2566 จำนวน 38,183คดี

ฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

ปีพ.ศ.2564 จำนวน 52,331คดี

ปีพ.ศ.2565 จำนวน 57,226คดี

ปีพ.ศ.2566 จำนวน 124,824คดี

ฐานความผิดพิเศษ

ปีพ.ศ.2564 จำนวน 17,430คดี

ปีพ.ศ.2565 จำนวน 30,557คดี

ปีพ.ศ.2566 จำนวน 44,133คดี

คดีความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย

ปีพ.ศ.2564 จำนวน 568,630คดี

ปีพ.ศ.2565 จำนวน 728,044คดี

ปีพ.ศ.2566 จำนวน 1,163,868คดี

รวมความผิด 4 ฐานทั่วประเทศ

ปีพ.ศ.2564 จำนวน 653,973คดี

ปีพ.ศ.2565 จำนวน 833,900คดี

ปีพ.ศ.2566 จำนวน 1,371,008คดี    

แสดงให้เห็นว่าปัญหาอาชญากรรมเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งต่อตัวประชาชนในสังคมโดยตรงในฐานะผู้เสียหาย และโดยรวมคือสังคมเกิดความไม่สงบ ไม่ปลอดภัย เกิดความวุ่นวาย ก่อให้เกิดความกลัวอาชญากรรมในสังคมนั้นๆ รวมถึงสังคมไทย ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมจึงเป็นกลไกสำคัญของรัฐในการสร้างความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยของสังคม นอกจากนี้ยังเป็นกฎเกณฑ์เป็นกระบวนการที่นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายและเป็นกระบวนการที่พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาหรือจำเลย นั่นหมายความว่า กระบวนการยุติธรรมเป็นกระบวนการที่มีความเชื่อมต่อกันโดยมีขั้นตอนตามที่กฎหมายกําหนดไว้ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมอยู่ในความรับผิดชอบของหลายหน่วยงาน โดยมีภารกิจและหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นการป้องกันอาชญากรรม การสอบสวน ฟ้องร้อง การพิจารณาคดี หรือแม้กระทั่งการแก้ไขบําบัดฟื้นฟูผู้กระทำผิด แต่ทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม

 

ที่มา : กลุ่มงานวิเคราะห์และประเมินผล กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed